วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
    1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
    2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
    3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
    4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ




1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
ประวัติย่อของอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ
          เมื่อมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะก็เดินทางกลับเมืองไทย เด็กชายอภิสิทธิ์เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธร และต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
          หลังจากนั้นก็เดินทางไป เรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนสเกทคลิฟ และที่โรงเรียนอีตัน นับเป็นช่วงที่อภิสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำเป็นเวลาหลายปี
          นอกจากหลักสูตรการเรียนที่ท้าทาย กฎระเบียบด้านวินัยที่เข้มงวดแล้ว โรงเรียนที่อังกฤษยังกำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องออกกำลังกายอีกด้วย จึงทำให้อภิสิทธิ์ได้หัดเล่นกีฬาหลายประเภท และที่ถนัดมากที่สุดคือ ฟุตบอล ซึ่งได้กลายเป็นกีฬาที่โปรดปราน ของอภิสิทธิ์มาจนถึงทุกวันนี้
          อภิสิทธิ์เป็นผู้ที่ติดตามการแข่งขันฟุตบอล ของสโมสรต่างๆ ในอังกฤษ (เป็นแฟนที่เหนียวแน่น ของสโมสรนิวคาสเซิล) และการแข่งขันระดับโลกสำคัญๆ มาตลอด (เป็นผู้ที่สามารถวิจารณ์ผู้เล่น ครูฝึกสอน และผู้จัดการของทีมฟุตบอลต่างๆ ได้คมชัดอย่างที่ไม่มีใครนึกถึง)
          ในช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และการเล่นกีฬา อภิสิทธิ์ก็ผ่อนคลายด้วยการฟังดนตรีแนวร็อค ตั้งแต่ป๊อปร็อคไปจนถึงเฮฟวี่เมทัล โดยมีวงดนตรีที่โปรดปรานหลายวง เช่น อาร์อีเอ็ม อีเกิ้ลล์ และโอเอซิส
          เมื่อจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อภิสิทธิ์ได้เลือกเรียนในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
          ในช่วงที่อยู่ที่อ๊อกซฟอร์ด การใช้ชีวิตของอภิสิทธิ์ก็ต้องปรับเปลี่ยนอีกครั้ง จากเดิมที่ต้องอยู่ภายในกฎ ระเบียบของโรงเรียนประจำ ได้รับอิสระ เสรีภาพมาก สามารถใช้เวลาว่าง ได้ตามใจมากขึ้น ซึ่งอภิสิทธิ์ก็ได้ใช้เวลาเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
         
ในสภานักศึกษา อภิสิทธิ์ใช้เวลาเรียนที่อ็อกซฟอร์ด 3 ปีจนจบ และได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่สอง ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับนี้ และในระหว่างนี้ได้ศึกษาต่อ ในคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย
          หลังจากจบปริญญาตรี อภิสิทธิ์ก็เดินทางกลับประเทศไทย และเข้ารับราชการทหารโดยสอนหนังสือ ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ที่เขาชะโงก จังหวัดนครนายก ก่อนที่จะกลับไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่อ๊อกซฟอร์ด ในสาขาเศรษฐศาสตร์
          ในช่วงก่อนที่จะกลับไปเรียนต่อปริญญาโท อภิสิทธิ์ได้แต่งงานกับ น.ส.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ปัจจุบันทั้งคู่มีลูกสาวหนึ่งคน และลูกชายหนึ่งคน (ปราง และ ปัณณสิทธิ์)
          เมื่อจบปริญญาโท อภิสิทธิ์ได้กลับมาสอนหนังสืออีกครั้ง ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามา "ทำงาน" การเมืองตั้งแต่เด็ก การตัดสินใจของอภิสิทธิ์จึงมีแนวทางที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสาขาที่จะเรียน การทำกิจกรรม หรือการพยายามติดตามข่าวสารบ้านเมืองแม้ว่าจะอยู่ต่างประเทศก็ตาม
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
       การทำงาน-การเมือง
       ก่อนปี 2535 อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนได้รับพระราชทานยศร้อยตรี
       ปี 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อังกฤษ
       ปี 2533-2534 อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       ปี 2535 ส.ส.กทม. เขต 6
       ปี 2538-2539 ส.ส.กทม. เขต 5
       ปี 2535-2538 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
       ปี 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
       ปี 2538-2539 ประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
       ปี 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
       ปี 2540-2543 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
       ปี 2542 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
       ปี 2542-2548 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
       ปี 2544-2547 ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
       ปี 2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
       ปี 2551 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ดิฉันได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองมาโดยตลอดและก็ไม่รู้สึกยินดียินร้ายกับท่านอภิสิทธิ์มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยน ดิฉันเคารพและรักท่านมากขึ้นในฐานะที่ท่านวางตัวเป็นกลาง เสนอแนะแนวทางออกทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายพันธมิตร การวางตัวเป็นกลางและมีวิสัยทัศน์ของท่านจะทำให้ท่านได้ใจจากประชาชนใน สุดท้ายขอให้ท่านรักษาความดีและความเป็นกลาง ยึดหลักการกฎและความถูกต้องเป็นสำคัญ ท่านอาจได้ใจประชาชนในการเลือกตั้งครั้งหน้า เหมือนกับตอนนี้ที่ท่านได้ความชื่นชมจากดิฉัน
                                                                                                                                                       http://hilight.kapook.com/


วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
1. หลักการบริหาร
หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)
2ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 18871945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
                1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management) ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์(Frederick Taylor) 
                2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol)          
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 19451958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
                            1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
                            2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
                            3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ)
              ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
                            1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
                            2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
                           3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control)
                          4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ
http://www.kru-itth.com/
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
หลักการบริหาร ไปใช้ในการจัดการบริหารมีดังนี้
1. ด้านความรู้ ความรู้ที่ผู้บริหารระดับกลางพึงมีที่สำคัญคือ
     1.1 ต้องรู้ระเบียบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง
     1.2 ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นในระดับ
     1.3 ต้องแลกเปลี่ยนความรู้
2. ด้านมนุษยสัมพันธ์
     2.1 ประสานงานอย่างไม่เป็นทางการก่อน เพื่อลดปัญหาการขัดแย้ง การโต้เถียงกัน ลดการซ้ำซ้อนของงาน
     2.2 การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจกันให้มาคุยกัน อย่าไปเถียงกัน...เถียงกันแล้วก็ไม่สบายใจ ทำให้ผิดใจ
     2.3 สร้างความร่วมมือ ให้เกิดขึ้นในองค์กรด้วยการมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีและบริหารความขัดแย้ง ต้องมี attitude ที่ดีต่อกัน
     2.4 อ่อนน้อมถ่อมตัว อ่อนโยนและจริงใจ อ่อนน้อมถ่อมตัว อ่อนโยนและจริงใจเป็น character ที่มีเสน่ห์ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็พูดกับเด็กดี ๆ เด็กก็นับถือ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ๆ ก็นับถือ
3. ด้านการปฏิบัติงาน
     3.1 การจัดลำดับความสำคัญของงาน
     3.2 ตรงต่อเวลา จึงจะถือว่ามีคุณภาพใช้ได้ เหมือนกับสินค้าที่ต้องมีคุณภาพที่ดี ราคาถูกต้องและส่งตรงเวลา
     3.3 ลด Boundary ของกองใน สอธ. หลาย ๆ งานจะมีความเกี่ยวข้องกัน ใน สอธ. จะไม่มี boundary ของกอง งานบางอย่างที่
     3.4 UPDATE ข้อมูล และใช้ IT เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
     3.5 ต้องกล้าที่จะเสนอแนะเพื่อพัฒนางาน
4. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
     4.1 อย่ายึดติดกับการปรับเปลี่ยนโยกย้าย
     4.2 การแบ่งโครงสร้างที่มีอยู่เราจะเน้นเรื่องของความรวดเร็ว ความเที่ยงตรง และความมีประสิทธิภาพ
     4.3 พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ
     4.4 สนับสนุนให้ลูกน้องก้าวหน้าในอาชีพ
     4.5 ประเมินผลการปฏิบัติงานต้องถูกต้องและยุติธรรม
     4.6 Empower ให้ฝ่ายสนับสนุน
     4.7 การสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีแก่บุคลากร
                                                           http://www.km.nida.ac.th/

 

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ  นางสาวสุริยา  นามสกุล  มะเย็ง
ชื่อเล่น  ยา
ชื่อบิดา นายยาลี  นามสกุล  มะเย็ง
ชื่อมารดา  นางโนรีซา  นามสกุลมะมิง
มีพี่น้อง 4 คน หญิง 4 คน  เป็นบุตรคนโต
ภูมิลำเนา  บ้านเลขที่  64  ซ. 12  ถ.ทรายทองต.สุไหงโก-ลก  อ.สุไหงโก-ลก  จ.นราธิวาส  96120

 ประวัติการศึกษา
เรียนอนุบาล  ประถมศึกษาและมัธยมต้น  โรงเรียนเทศบาล    ต.สุไหงโก-ลก  อ.สุไหงโก-ลก  จ.นราธิวาส
เรียนมัธยมปลาย  โรงเรียนแสงธรรมวิทยามูลนิธิ   ต.โต๊ะลือแบ  อ.สุไหงโก-ลก   จ.นราธิวาส
ปัจจุบันศึกษาอยู่มหาวิยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช   คณะครุศาสตร์  เอกสังคมศึกษา   ปี 3

ปรัชญา
ทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพื่อพ่อแม่

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1

ให้นักศึกษาค้นคว้าความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปลงบทสร้างกิจกรรมที่1
               ความหมายที่  1  การจัดการชั้นเรียน
              หลักในการจัดชั้นเรียนคือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ควรคำนึงถึงหลักในการจัดชั้นเรียน ดังนี้
                                                                                               www.wordpress.com/
                ความหมายที่  2  การจัดการชั้นเรียน
               การจัดการชั้นเรียน   หมายถึง   การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน 
                                                                                                http://socialscience.igetweb.com/
                ความหมายที่  3  การจัดการชั้นเรียน
            การจัดการชั้นเรียน  โดยออล   คือ  พฤติกรรมการสอนที่สร้างและคงสภาพเงื่อนไขจากการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิภาพขึ้นในชั้นเรียนชึ่งถือเป็นชุมชนแห่งเรียนรู้
                ความหมายที่  4  การจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียนคือ การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนเพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
                                                                                http://www.edu.lru.ac.th/
ความหมายที่  5  การจัดการชั้นเรียน

โบรฟี  ให้ความหมายว่าการจัดการชั้นเรียน คือ การที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบการผลสำเร็จทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน
ความหมายที่  6  การจัดการชั้นเรียน
เบอร์เดน ให้ความหมายว่าการจั ดการชั้นเรียนคือยุทธศาสตร์และการปฏิบัติที่ครูใช้เพื่อคงสภาพความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ความหมายที่  7  การจัดการชั้นเรียน
สุรางค์ โค้วตระกูล ให้ความหมายว่าการจัดการชั้นเรียนคือการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึงการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ความหมายที่  8  การจัดการชั้นเรียน
ซูซาน   ให้ความหมายว่าการจัดการชั้นเรียน คือ พฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
                                                                                     http://inded.rmutsv.ac.th
                จากการศึกษา  สรุปได้ว่า
                การจัดการชั้นเรียน  หมายถึง การจัดการทุกอย่างในชั้นเรียนหรือ  ในห้องเรียนที่จะสามารถเอื้อหรือช่วยให้ครูผู้สอนสามารถสร้างขีดความสามารถให้นักเรียนเกิดการเรียนการสอนตรงตามเป้าหมายตามที่ผู้บริหารสถานศึกษา  และครูผู้สอนวางเป้าหมายให้ได้อย่างเต็มที่