วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จากการเรียนรู้เรื่องกิจกรรมเยี่ยมชมห้องเรียนลูกรัก 2
 การสอนเป็นหัวใจหนึ่งที่ผู้สอนต้องถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ และห้องเรียนต้องเอื้อต่อการสอนและมีวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ สนใจต่อสิ่งที่ได้รับเต็มอย่างประสิทธิ์ภาพ ดังเหมือนห้องเรียนลูกรัก 2 ผู้เรียนเกิดความสนใจและกล้าแสดงออกโดยไม่เกิดความเขินอายต่อการออกมานอก ชั้นเรียน ผู้เรียนต้องได้รับความรู้จากผู้สอน  ผู้สอนต้องศึกษาสภาพแวดล้อมของผู้เรียน และภาพโดยรวมของโรงเรียนและท่าทางการสนใจของผู้เรียนที่มีต่อวิชาที่สอน ปฏิกิริยาการถามตอบของผู้เรียนและการกล้าแสดงออก หรือการมีส่วนรวมในการเรียนการสอน
อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีดังต่อไปนี้
1.   มีความรู้ในวิชาที่สอนดี  ผู้สอนต้องสอนให้ผู้เรียนเกิดความรู้ประสบการณ์  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นในตัวผู้เรียน
2.   มี ความรู้ในวิธีการสอน ผู้สอนที่มีความรู้ดี แต่ไม่สามารถสอนผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้นั้น นับเป็นความล้มเหลวในการประกอบอาชีพครู
3.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้สอนที่ดีจะต้องพยายามริเริ่มวิธีการใหม่ขึ้น เพื่อจะได้ให้การศึกษาแก่ ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.  มีความสนใจต่องานอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีศรัทธาต่องานที่สอน
5.  ผู้สอนมีความสามารถในการปรับบทเรียนให้เข้ากับตัวผู้เรียน
6.  ผู้สอนเข้าใจผู้เรียนตามสภาพเป็นจริงของเขา
7.  มีสัมพันธภาพอันดีกับผู้เรียน หน้าที่ของผู้สอนไม่ใช่เพียงแต่สอนเท่านั้นยังจะต้องอบรมกล่อมเกลานิสัยใจคอ ความประพฤติของผู้เรียนด้วย
    ดิฉันคิดว่าการออกสังเกตต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และต้องสังเกตการณ์สอนของพี่เลี้ยงในการสอนในห้อง ภาพโดยรวมของผู้เรียนและความสนใจในการเรียนรู้ การกล้าแสดงออกของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมภายในภายนอกของผู้เรียน เพราะการที่เราออกสังเกตการณ์ก็เปรียบเสมือนการได้ไปฝึกสอน เราก็ต้องเตรียมพร้อมในทุกๆด้านและนำเอามาประยุกต์ในเข้ากับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ได้เต็มที่และมีประสิทธิ์ภาพในการเรียนรู้
http://www.youtube.com/watch?v=tTzF3b99FIA&feature=related


วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ  (Organaization Culture)
ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
หมายถึง  กลุ่มของความเชื่อความเข้าใจในค่านิยมร่วมของกลุ่มที่ถาวร  เป็นแนวทางการประพฤติและวิธีปฏิบัติที่เราใช้อยู่เป็นประจำ  ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ช่วยยึดเหนี่ยวระหว่างกัน  โดยมีการสืบทอดผ่านสื่อสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ประพฤติและปฏิบัติ  อย่างมั่นคงและแพร่หลายทั่วไป
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
กรอบความคิดของโออูชิ (The Ouchi framework) มีอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ ความผูกพันต่อพนักงาน (Commitment to employees) การประเมินผล (Evaluation) เส้นทางของอาชีพ (Career path)    การควบคุม (Control) การตัดสินใจ (Decision-making) ความรับผิดชอบ (Responsibility) และการดูแลพนักงาน (Concern for people)
ทฤษฎี Z และผลงาน (Theory Z and performance)
โออูชิสรุปผลงานวิจัยยืนยันว่า วัฒนธรรมของบริษัทญี่ปุ่นแบบ Type J และบริษัทอเมริกันแบบ Type Z สามารถสร้างผลงานออกมาสูงกว่าบริษัทอเมริกันแบบเดิมหรือ Type A อย่างชัดเจน โดยยกตัวอย่าง บริษัทโตโยต้า ที่นำวิธีบริหารจัดการและวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นไปใช้กับบริษัทของตนที่ตั้งอยู่ในสหรัฐ ความสำเร็จดังกล่าวของโตโยต้ามาจากการให้ความสำคัญและการลงทุนอย่างมากในการพัฒนาพนักงาน ส่งผลให้อนาคตของบริษัทเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะยาวอย่างมั่นคง
กรอบความคิดของปีเตอร์และวอเตอร์แมน (The Peters and Waterman Framework) ค่านิยมที่เป็นลักษณะสำคัญต่อการเป็นบริษัทชั้นยอดนั้น (Excellent firms) มีดังนี้  ตัดสินใจทำโดยไม่ลังเล (Bias for action)  ให้ความใกล้ชิดกับลูกค้า (Stay close to the customer)  ให้ความอิสระและทำแบบนักประกอบการ (Autonomy and entrepreneaurship)  เชื่อว่าผลงานที่ดีย่อมมาจากคน (Productivity through people)  บริหารแบบไม่ปล่อยมือ (Hands – on management)  เลือกเน้นเฉพาะธุรกิจที่เป็นความถนัดของบริษัท (Stick to the knitting)  มีโครงสร้างอย่างง่ายและใช้บุคลากรน้อยลง (Simple form, lean staff)  และมีการจัดการทั้งแบบที่ยืดหยุ่นและแบบที่ตึงตัวพร้อมกันไป (Simultaneously loosely and  tightly organized)
การที่องค์การจะมีค่านิยมการจัดการแบบยืดหยุ่นได้นั้น ต้องเกิดจากความเชื่อร่วมกันของบรรดาสมาชิก กล่าวคือ เมื่อคนเหล่านี้จำเป็นต้องตัดสินใจ เขาจะประเมินทางเลือกต่าง ๆ โดยยึดความสอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ ทางเลือกนั้นจะตอบสนองและยึดลูกค้าเป็นสำคัญหรือไม่ ตลอดจนค่านิยมอื่นที่เป็นวัฒนธรรมองค์การของบริษัทมาเป็นเกณฑ์ดำเนินการ ในกรณีเช่นนี้ค่านิยมอื่นที่เป็นวัฒนธรรมองค์การของบริษัทมาเป็นเกณฑ์ดำเนินการ ในกรณีเช่นนี้ค่านิยมแบบตึงตัวด้านโครงสร้างบริษัทจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่นอันเนื่องมาจากการลดจำนวนผู้บริหารและบุคลากรลงแต่ประการใด
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาวัฒนธรรมในองค์กร จำเป็นที่จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับภาพรวมของสังคมใหญ่ที่องค์กรนั้นสังกัดอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องยึดวัฒนธรรมของสังคมใหญ่ไปเสียทุกอย่าง
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
ทั้งนี้ เพราะองค์กรขนาดใหญ่สะสมประสบการณ์มามาก มีคนอยู่จำนวนมาก มีปัญหาในการสื่อสาร จึงมีกฎระเบียบมาก และกฎระเบียบก็จะสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนพนักงานมักจะชอบทำงานตามกฎระเบียบ มุ่งแต่ส่วนที่ตนรับผิดชอบ ขาดการมองภาพรวม เมื่อทำตามกฎระเบียบไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็นงานประจำ (routine) จึงขาดความคิดใหม่ๆ และต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คิดถึงตนเองเป็นหลัก (self) มิได้คำนึงถึงลูกค้า
มีผู้กล่าวกันว่าความสำเร็จ (success) เป็นอุปสรรคอันหนึ่งต่อการสร้างความคิดสร้าง สรรค์ (creativity) เพราะองค์กรมักจะยึดติดกับความสำเร็จจากวิธีการที่ผ่านมาในอดีต จนไม่ยอมรับความคิดใหม่ๆ
องค์กรจึงต้องคอยหมั่นตรวจสอบระดับของวัฒนธรรมเหล่านี้เสมอว่าลดลงหรือมีมากขึ้น และหาวิธีเพิ่มระดับความเข้มของวัฒนธรรมเหล่านี้ขึ้นมาเรื่อยๆ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้  
การนำวัฒนธรรมองค์กรมาใช้เป็นการใช้ในลักษณะองค์กร  ไม่สามารถใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม  ถ้าองค์กรใดมีวัฒนธรรมที่เป็นแบบแผนที่ดี  และชัดเจน  โดยกลุ่มคนในองค์กรสามารถใช้อย่างบรรลุผลเป้าหมายได้  องค์กรนั้นก็สามารถที่จะพัฒนาได้เป็นอย่างดี
www.pirun.ku.ac.th

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
ปัญหา อย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุม ชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนัก เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับ ว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้น เรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญ และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวม ถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียน รู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการชั้นเรียน
คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่ง เพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการสร้าง สรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่ง เสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
         การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียนนักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การ แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
            ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่ กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพ ของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง
วิธีการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้ อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
2. หลักความยุติธรรม ครู ควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ใน การปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครู จะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครู จะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน
 3. ครู จะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน
4. ครู จะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน นำแนวคิดมาใช้ในการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิ สัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี 

กิจกรรมที่6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
สรุปบทความมาตรฐานวิชาชีพ
จาการศึกษาบทความของรองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา  จะเห็นว่าทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ โดยอาชีพด้านการศึกษาก็มีคุรุสภา
          สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด           
          สำหรับความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูง แต่ที่มีความต่างที่สำคัญก็เพราะมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนด เกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม ในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการ ศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู  ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะ
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภา
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ
การนำไปประยุกต์ใช้
          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบ และวิธีการที่ต่างๆ กัน จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
ได้มีการดำเนินการหรือปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถาน ศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผ็ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
ดังนั้นสิ่งที่ศึกษาสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพครูได้  คือ  เมื่อรู้ว่าวิชาชีพต่างๆ  มีมาตรฐานกันทั้งนั้น  ยิ่งวิชาชีพครูก็สามารถรู้ว่ามาตรฐานวิชาชีพครูเป็นอย่างไร  ใครเป็นผู้กำหนด  มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างและแต่ละระดับมีมาตรฐานแตกต่างกัน  และการประกอบวิชาชีพครูที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา  ทำให้รู้ว่าการเป็นวิชาชีพที่ถูกต้องและสามารถเป็นโดยไม่ผิดกฎหมายตามเงื่อนไขของคุรุสภานั้นมีเงื่อนไขอย่างไร

กิจกรรมที่5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาตนเองได้อย่างไร
สรุปบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่า ต้นแบบมีอยู่ในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบต่อ มาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ   พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
นัยแรก    คือ  ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
นัยที่สอง  คือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้ เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล
และยังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า  ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น
จากการศึกษาบทความความรู้เรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้  สิ่งที่ได้  คือ  รู้ถึงของคำว่าต้นแบบ  คุณประโยชน์ของคำว่าต้นแบบ  และผลที่จะก่อให้เกิดผลต่อไปของคำว่าต้นแบบนั้น  คือการพัฒนาความรู้  ความสามารถของผู้ตาม  ที่เป็นไปในลักษณะของลูกโซ่  ถ้าต้นแบบนั้นเป็นต้นแบบที่ดี  ก็จะเป็นลูกโซ่ของสิ่งที่ดีเช่นกัน
ดังนั้นสิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้  คือ  การที่เราสามารถแยกแยะได้ว่า  ต้นแบบไหนดี  ต้นแบบไหนที่ไม่ดี  สามารถนำต้นแบบที่ดีมาเป็นแบบอย่างในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน  และเป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองให้ดี  เพราะเมื่อเราจบไปในฐานะของความเป็นครู  ใช่ ! เราย่อมเป็นต้นแบบหนึ่งที่เด็กนักเรียนของเราที่มองดูเรา  ประพฤติ  ปฏิบัติเหมือนเรา  ถ้าเราเป็นต้นแบบที่ดี  ก็จะสามารถช่วยให้ชาติมีเยาวชนที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาและบริหารประเทศต่อไปได้ 


บทความของ  บรรเจอดพร   รัตนพันธุ์  คณะทำงาน รมช.ศธ