วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ การสอนของตน
              จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
จากประเด็นดังกล่าวข้าพเจ้าจะใช้การสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก  เพราะการเรียนการสอนเป็นการสอนที่นำเอาปัญหาในวิชานั้นๆ  มาเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนๆได้ศึกษา  วิเคราะห์สภาพปัญหา  ตลอดจนหาทางแก้ปัญหาด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  เพิ่มเติม  หลักการสำคัญของการเรียนการสอนแบบนี้  คือ
1.  เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered) เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด
2.  หัวข้อ  ประเด็นปัญหา  รวมถึงเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  จะเป็นในเชิงบูรณาการ (Integrated) ผู้เรียนจะต้องใช้เนื้อหาในสาขาต่างๆ  มาช่วยในการแก้ปัญหา
3.  เป็นการใช้เทคนิคการสอนกลุ่มย่อย  (Small  geoup  Tutorial)  กลุ่มละ  6-8  คน  ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนข้อมูล  และประสบการณ์ภายในกลุ่ม
4.  การเรียนรู้ของผู้เรียน  นอกจากจะได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาต่างๆ  แล้วยังเป็นการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ  ไปในเวลาเดียวกัน  เช่น  กระบาวนการคิด  กระบานการทำงาน  กระบานการแก้ปัญหา
5.  ผู้สอนจะมีบทบาท  เป็นผู้อำนวยความสะดวก  เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการโต้เถียง  แสดงความคิดเห็น  และร่วมมือกันแก้ปัญหา
จุดมุ่งหมาย
1.             เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาอย่างมีกระบวนการ
2.             เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน
3.             เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักาะในการเรียนรู้ด้วยตัวเองและจากกลุ่ม
ขั้นตอนการสอน
ในการนำการสอนแบบนี้ไปใช้  ข้าพเจ้าคิดว่าผู้สอนจะต้องเตรียมปัญหา  ในประเด็นที่ต้องการ  โดยเขียนเป็นสถานการณ์  (Scenario)  หรือ กรณี  (Case)  ไว้ล่วงหน้า  และดำเนินการสอนตามขั้นตอน  ดังนี้
1. นำเสนอกรณีตัวอย่าง ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียน  เช่นเล่าให้ฟัง  ให้อ่านจากบัตรกรณีตัวอย่าง  ให้ดู  VDO  แสดงบทบาทสมมติ  เป็นต้น
2.  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม  และทำความเข้ากับคำศัพท์  หรือความคิดรวบยอดของบางอย่าง  ในสถานการณ์  หรือกรณี  ที่กำหนดให้  ให้ชัดเจน  โดยอาศัยความรู้พื้นฐานเดิมของสมาชิกภายในกลุ่ม  หรือจากเอกสาร  และสื่อต่างๆ
3.  ให้กลุ่มระบุประเด็นปัญหาพร้อมทั้งระบุขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน
4.  ให้กลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา  โดยใช้ข้อมูล  และพื้นฐานความรู้เดิมของสมาชิก  เพื่อให้ได้แนวคิดและข้อสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างของปัญหา  กระบวนการ  และกลไกที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อสร้างสมมุติฐานที่สมเหตุสมผลให้ได้มากที่สุด
5.  ให้กลุ่มร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของสมมุติฐาน  โดยอาศัย  ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  รวมทั้งความรู้จากสมาชิกภายในกลุ่ม  เพื่อคัดข้อมูลสมมุติฐานที่เป็นไปได้น้อยออกไป  และเลือกเอาข้อสมมุติฐานที่มีความเป็นไปได้มากไว้ศึกษาต่อไป
6.  ให้กลุ่มร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันตรวจสอบ  และวิเคราะห์  ว่าการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่ได้เลือกไว้  จำเป็นจะต้องหาข้อมูล  ข่าวสาร  หรือความรู้เรื่องใดบ้าง  มาเพิ่มเติมด้วยการเขียนวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ออกมาเป็นข้อๆ
7.  ให้ผู้เรียนแยกย้ายออกไปศึกษา  ค้นคว้า  หาข้อมูล  ความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งวิทยาการต่างๆ  เช่น  เอกสาร  ตำรา  ผู้เชี่ยวชาญ  ฯลฯ
8.  ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  ค้นคว้าเสนอต่อกลุ่ม  ร่วมกันพิจารณา  ตรวจสอบข้อมูลที่จะใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน  หรือการแก้ปัญหาว่าถูกต้องเพียงพอหรือไม่  ถ้ายังมีข้อบกพร่องอยู่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  แล้วจึงทำการพิสูจน์  หรือทดสอบสมมุติฐานที่กลุ่มได้ร่วมกันตั้งไว้  และลงข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม  นำข้อสรุป  หลักการที่ได้จากการศึกษา  และแนวทางในการนำความรู้  และหลักการไปใช้  นำเสนอและแลกเปลี่ยนในห้องเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น