วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ  (Organaization Culture)
ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย
สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
หมายถึง  กลุ่มของความเชื่อความเข้าใจในค่านิยมร่วมของกลุ่มที่ถาวร  เป็นแนวทางการประพฤติและวิธีปฏิบัติที่เราใช้อยู่เป็นประจำ  ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ช่วยยึดเหนี่ยวระหว่างกัน  โดยมีการสืบทอดผ่านสื่อสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ประพฤติและปฏิบัติ  อย่างมั่นคงและแพร่หลายทั่วไป
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
กรอบความคิดของโออูชิ (The Ouchi framework) มีอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ ความผูกพันต่อพนักงาน (Commitment to employees) การประเมินผล (Evaluation) เส้นทางของอาชีพ (Career path)    การควบคุม (Control) การตัดสินใจ (Decision-making) ความรับผิดชอบ (Responsibility) และการดูแลพนักงาน (Concern for people)
ทฤษฎี Z และผลงาน (Theory Z and performance)
โออูชิสรุปผลงานวิจัยยืนยันว่า วัฒนธรรมของบริษัทญี่ปุ่นแบบ Type J และบริษัทอเมริกันแบบ Type Z สามารถสร้างผลงานออกมาสูงกว่าบริษัทอเมริกันแบบเดิมหรือ Type A อย่างชัดเจน โดยยกตัวอย่าง บริษัทโตโยต้า ที่นำวิธีบริหารจัดการและวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นไปใช้กับบริษัทของตนที่ตั้งอยู่ในสหรัฐ ความสำเร็จดังกล่าวของโตโยต้ามาจากการให้ความสำคัญและการลงทุนอย่างมากในการพัฒนาพนักงาน ส่งผลให้อนาคตของบริษัทเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะยาวอย่างมั่นคง
กรอบความคิดของปีเตอร์และวอเตอร์แมน (The Peters and Waterman Framework) ค่านิยมที่เป็นลักษณะสำคัญต่อการเป็นบริษัทชั้นยอดนั้น (Excellent firms) มีดังนี้  ตัดสินใจทำโดยไม่ลังเล (Bias for action)  ให้ความใกล้ชิดกับลูกค้า (Stay close to the customer)  ให้ความอิสระและทำแบบนักประกอบการ (Autonomy and entrepreneaurship)  เชื่อว่าผลงานที่ดีย่อมมาจากคน (Productivity through people)  บริหารแบบไม่ปล่อยมือ (Hands – on management)  เลือกเน้นเฉพาะธุรกิจที่เป็นความถนัดของบริษัท (Stick to the knitting)  มีโครงสร้างอย่างง่ายและใช้บุคลากรน้อยลง (Simple form, lean staff)  และมีการจัดการทั้งแบบที่ยืดหยุ่นและแบบที่ตึงตัวพร้อมกันไป (Simultaneously loosely and  tightly organized)
การที่องค์การจะมีค่านิยมการจัดการแบบยืดหยุ่นได้นั้น ต้องเกิดจากความเชื่อร่วมกันของบรรดาสมาชิก กล่าวคือ เมื่อคนเหล่านี้จำเป็นต้องตัดสินใจ เขาจะประเมินทางเลือกต่าง ๆ โดยยึดความสอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ ทางเลือกนั้นจะตอบสนองและยึดลูกค้าเป็นสำคัญหรือไม่ ตลอดจนค่านิยมอื่นที่เป็นวัฒนธรรมองค์การของบริษัทมาเป็นเกณฑ์ดำเนินการ ในกรณีเช่นนี้ค่านิยมอื่นที่เป็นวัฒนธรรมองค์การของบริษัทมาเป็นเกณฑ์ดำเนินการ ในกรณีเช่นนี้ค่านิยมแบบตึงตัวด้านโครงสร้างบริษัทจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่นอันเนื่องมาจากการลดจำนวนผู้บริหารและบุคลากรลงแต่ประการใด
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาวัฒนธรรมในองค์กร จำเป็นที่จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกับภาพรวมของสังคมใหญ่ที่องค์กรนั้นสังกัดอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องยึดวัฒนธรรมของสังคมใหญ่ไปเสียทุกอย่าง
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
ทั้งนี้ เพราะองค์กรขนาดใหญ่สะสมประสบการณ์มามาก มีคนอยู่จำนวนมาก มีปัญหาในการสื่อสาร จึงมีกฎระเบียบมาก และกฎระเบียบก็จะสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนพนักงานมักจะชอบทำงานตามกฎระเบียบ มุ่งแต่ส่วนที่ตนรับผิดชอบ ขาดการมองภาพรวม เมื่อทำตามกฎระเบียบไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็นงานประจำ (routine) จึงขาดความคิดใหม่ๆ และต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คิดถึงตนเองเป็นหลัก (self) มิได้คำนึงถึงลูกค้า
มีผู้กล่าวกันว่าความสำเร็จ (success) เป็นอุปสรรคอันหนึ่งต่อการสร้างความคิดสร้าง สรรค์ (creativity) เพราะองค์กรมักจะยึดติดกับความสำเร็จจากวิธีการที่ผ่านมาในอดีต จนไม่ยอมรับความคิดใหม่ๆ
องค์กรจึงต้องคอยหมั่นตรวจสอบระดับของวัฒนธรรมเหล่านี้เสมอว่าลดลงหรือมีมากขึ้น และหาวิธีเพิ่มระดับความเข้มของวัฒนธรรมเหล่านี้ขึ้นมาเรื่อยๆ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้  
การนำวัฒนธรรมองค์กรมาใช้เป็นการใช้ในลักษณะองค์กร  ไม่สามารถใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม  ถ้าองค์กรใดมีวัฒนธรรมที่เป็นแบบแผนที่ดี  และชัดเจน  โดยกลุ่มคนในองค์กรสามารถใช้อย่างบรรลุผลเป้าหมายได้  องค์กรนั้นก็สามารถที่จะพัฒนาได้เป็นอย่างดี
www.pirun.ku.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น