วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษา ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
              คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ใน การอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัว ปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
               ดัง นั้นปัญหากรณีเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชาเกิดจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนทำ ให้เกิดปัญหาดังกล่าวจนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ  ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเกิดการสั่นทอน แต่การตัดสินของศาลโลกเป็นการยึดติดกับแผนที่ฉบับเดียวเป็นตัวตัดสินนั้นก็ เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมกับประเทศไทย และสมมุติว่าไม่มีแผนที่ฉบับนั้นศาลโลกจะเอาอะไรเป็นเครื่องมือในการชี้วัด
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
                เป็น พื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึ่ง เป็นเหตุให้ มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คน ไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น นั้นก็คือฝ่ายไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหาร เข้ากับผลประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่ประเทศไทยต้องการโยง 2 เรื่องเข้าด้วยกัน
                 ดังนั้น เป็นพื้นที่พิพาทยังไม่มีข้อตกลง เพราะต่างคนต่างไม่อยากเสียผลประโยชน์ในกับประเทศตรงข้าม ดังเช่นกรณีเขาพระวิหารที่มีปัญหาไม่จบสิ้น ข้อพิพาทเขตแดนยึดกับแผนที่ฉบับเดียวและเอามาโยงกับ 2 เรื่องเข้าหากันจึงเกิดเป็นปัญหาที่ไม่จบสิ้น
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) โจมตีเรื่องปราสาทพระวิหาร และอ้างว่าสมัยเป็นฝ่ายค้านกับรัฐบาลพูดไม่เหมือนกันนั้นไม่จริง มาโจมตีว่าไม่ยอมยกเลิกบันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU) ปี 2543 ทั้งที่คนยก MOU ปี 2543 คนแรกคือนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมากลบเกลื่อนความผิดจากการลงนามในแถลงการณ์ร่วม จนเปิดประตูให้กัมพูชาเข้ามา ขอยืนยันว่า MOU ปี 2543 ไม่เคยบอกว่าไทยยอมรับแผนที่ของกัมพูชา แต่ยึดหลักสันปันน้ำมาตลอด
"สิ่งที่ MOU ปี 2543 เขียนไว้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นยังมีปัญหา ทั้งนี้ MOU ปี 2543 ทำให้กัมพูชามีปัญหามาก แผนการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการ มรดกโลก ไม่สามารถอ้างแผนที่ได้เพราะมี MOU ฉบับนี้ค้ำไว้ จึงอยากให้ช่วยกันชี้แจง เพราะตอนนี้พูดทุกวันว่าทำไมไม่เลิก MOU สักที"
ส่วน กรณีที่มีคนลุกล้ำไปในพื้นที่ทับซ้อน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะให้นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปดำเนินการ ที่ผ่านมาเราก็ทำหนังสือประท้วงหลายครั้ง แต่จะให้เดินหน้าไปปะทะเลย ไม่เกิดประโยชน์อะไร ยังมีเวลามีเวทีอื่นให้ดำเนินการอยู่ เรื่องเหล่านี้พวกเราต้องถูกถามแน่นอน จึงอยากให้ช่วยกันชี้แจงด้วยสาระ อย่าใช้การตอบโต้ และขอยืนยันให้มั่นใจ เราจะรักษาประโยชน์ชาติ ไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝง
ดังนั้น mou43 ระบุการใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แผนที่นี้ทำให้ไทยเสียดินแดนใช่หรือไม่ถ้าไม่มีแผนที่นี้เราอาจไม่เสียดินแดน  ตอนนี้เขมรออกแถลงการณ์ฉบับสุดท้ายตอบโต้ไทย  ว่าเขาใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ตาม mou43 แล้วไทยก็ยอมรับในกรณี 7 คนไทยถูกจับ เพราะเขมรใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนอันนี้มาอ้างว่าไทยล้ำดินแดน ใน mou ระบุให้ใช้การปักปันตาม JBC ซึ่งใน JBC ระบุให้ใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ชัดเจนมากนะคะ  เขมรไม่ได้ทำผิดข้อตกลงที่รุกล้ำดินแดนไทย เพราะเขาทำตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนแล้วตามข้อตกลง  และไทยก็ยอมรับ เพราะไม่มีการผลักดันออกไปแต่อย่างใด ผลักดันไม่ได้ เพราะติด mou ห้ามใช้กำลังทหาร ต้องเจรจาเท่านั้น  ห้ามเคลื่อนย้ายสิ่งที่มีอยู่ก่อนทำ mou เช่นวัดแก้ว
www.praviharn.net/index.php?option=co
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขต พื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นัก ศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร 
กรณี ที่คนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับตัวจนในที่สุด ศาลกัมพูชาพิพากษาจำคุก 5 คน คนละ 9 เดือนและปรับเป็นเงินจำนวน 1 ล้านเรียล โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อนซึ่งก็มีความหมายว่ากระทำความผิดจริงแต่ยัง ไม่ต้องถูกติดคุกนั่นเอง และแสดงความคิดเห็นจุดเริ่มต้นของกรณีนี้เกิดขึ้นจากมีการพยายามที่จะใช้การ ปลุกกระแสชาตินิยม ในกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มและรัฐบาลเองเพื่อสร้าง คะแนนนิยมของกลุ่มการเมืองและกลบปัญหาความไม่เอาไหนของรัฐบาลเอง แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นไปดังที่คาดหวัง เนื่องจากมีเข้าร่วมการชุมนุมจำนวนไม่มากนักและมิหนำซ้ำยังถูกต่อต้านจากคน ในพื้นที่จึงได้มีการตัดสินใจยกระดับการจุดชนวนด้วยการเดินข้ามแดนเข้าไปให้ ทหาร กัมพูชาจับกุมตัว โดยหวังที่จะปลุกกระแสความรักชาติขึ้นมา เบื้องแรกผู้ก่อการเรื่องดังกล่าวคงมิได้คาดหมายเหตุการณ์จะพลิกผันว่า จะมีการดำเนินคดีจนถึงกับมีการขึ้นโรงขึ้นศาลจนถึงต้องมีการขังคุก (ขี้ไก่) จนแมลงสาบแทะหัว กว่าจะได้ประกันตัวและตัดสินคดีก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด คณะดังกล่าวคงนึกแต่เพียงว่าหากมีการจับกุมในพื้นที่คงสามารถเจรจาได้เหมือน ครั้งที่ผ่านๆ มา แล้วค่อยนำข่าวไปสร้างกระแสแต่เหตุไม่คาดฝันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะทหารกัมพูชาที่จับกุมเกิดจำนายวีระ สมความคิด ที่เคยถูกจับมาแล้วแต่ถูกปล่อยตัวพร้อมกับทำทัณฑ์บนไว้แล้วเมื่อไม่นานมานี้ กอปรกับนายวีระเองก็ถูกทางการกัมพูชาขึ้นบัญชีดำไว้แล้วเพราะด่าฮุนเซ็นไว้ เยอะ  เหตุการณ์จึงกลับไปเข้าล็อกทางฝ่ายกัมพูชา บุคคลทั้งเจ็ดจึงถูกส่งตัวไปยังพนมเปญพร้อมกับการถูกใช้เป็นเครื่องมือทาง การเมืองของรัฐบาลฮุนเซ็น
ดัง นั้นประเด็นสำคัญที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือการที่เรายอมรับคำพิพากษา ของ ศาลกัมพูชาโดยไม่มีการอุทธรณ์ซึ่งทำให้คดีถึงที่สุด โดยความหมายก็คือเรายอมรับเขตอำนาจศาลกัมพูชาว่ามีอำนาจเหนือเขตแดนดังกล่าว ทำให้เราต้องเสียเปรียบหรืออำนาจต่อรองในการปักปันเขตแดนในภาพรวมต่อไปใน อนาคต ซึ่งเข้าหลักกฎหมายปิดปากที่ทำให้เราแพ้คดีประสาทพระวิหารในศาลโลกมาแล้วใน อดีต
http://www.prachatai.com/journal/2011/01/32804


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น